วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สัญญาประชาคม

        ในประวัติความคิดทางการเมืองอิทธิพลของรุสโซดูจะมีมากกว่าและลึกกว่ามองเตสกิเออในแง่ของการประทับความรู้สึกนึกคิดของคนร่วมสมัยและผลสะท้อนในศตวรรษต่อมาความสำเร็จของทฤษฎีต่างๆ   ของรุสโซเกิดขึ้นก็เนื่องจากว่าสังคมยุโรปโดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมฝรั่งเศสในขณะนั้นกำลังต้องการอยู่  ก่อนหน้าการปฏิวัติใหญ่ในปี ค.ศ.1789  บรรดาผู้คนแก่ทั้งหลายต่างก็หยิบยก  สัญญาประชาคม   ขึ้นมาถกเถียงกัน   กล่าวได้ว่าการปฏิวัติ 1789 ได้รับอิทธิพลทั้งโดยทั้งทางตรงและทางอ้อมจากความคิดมูลฐานสำคัญๆแห่ง  สัญญาประชาคม  ซึ่งได้เข้ามาแทรกซึมอยู่ในความรู้สึกนึกคิดของมหาชนผู้มีการศึกษาและแพร่ขยายออกไป    ความคิดมูลฐานสำคัญๆ  ดังกล่าวนี้ได้แก่  ความคิดเกี่ยวกับเอกภาพของรัฐ   เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนร่วมที่จะต้องได้รับการเคารพ   เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของประชาชน  เกี่ยวกับกฎหมายซึ่งเป็นการแสดงออกของเจนจำนงทั่วไป   เกี่ยวกับการขจัดออกไปซึ่ง  สังคมย่อย  อันได้แก้กลุ่มคระต่างๆ  สมาคมพรรคการเมือง  เกี่ยวกับความไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหารเกี่ยวกับระบอบเผด็จการเพื่อความปลอดภัยสาธารณะและเกี่ยวกับศาสนาของราษฎร
       ความคิดของรุสโซเหล่านี้มีอิทธิพลต้อผู้ร่างรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส  ค.ศ.1789 มาก  เช่นเดียวกับอิทธิพลของความคิดของมองเตสกิเออและของซิเออแยส  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังปี  ค.ศ.1792 ความคิดเหล่านี้ได้เข้าครบงำกลุ่มการเมืองสำคัญๆ   ของฝรั่งเศสอันได้แก่กลุ่มมองตานญ์  และโรเบสปีแอร์  รัฐธรรมนูญ  ค.ศ.1793  ของฝรั่งเศสก็คือผลิตผลโดยตรงของความคิดของรุสโซ  ในปัจจุบันระบอบประชาธิปไตยตะวันตกก็ยังเป็นระบอบที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความคิดของรุสโซอยู่หลายประการ  ได้แก่มนุษย์ทุกคนเกิดมาอิสระและยังคงเป็นอิสระและเสมอภาคกันในกฎหมาย ความคิดที่ว่าจุดมุ่งหมายของรัฐก็คือการธำรงรักษาไว้ซึ่งสิทธิธรรมชาติของมนุษย์  ความคิดที่ว่าบุคคลเมื่อเข้ามาร่วมตัวกันอยู่เป็นรัฐก็ไม่ควรอยู่ใต้อำนาจใครเลย  นอกจากอำนาจของมวลพวกเขากันเอง   และประการสุดท้าย  ความคิดที่ว่ากฎหมายคือการแสดงออกของเจนจำนงทั่วไป  ราษฎรทุกคนมีสิทธิเข้าไปมีส่วนร่วมในการออกกฎหมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น