วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

10 อันดับกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก

นิตยสารฟอร์บ เสนอบทความกษัตริย์ที่รวยที่สุดในโลก
เมื่อวันที่ 20 ส.ค. ที่ผ่านมา (คาดว่าเป็นปี 2008)
ฟอร์บระบุว่า การประเมินทรัพย์สินของราชวงศ์นั้น
ต้องใช้ทั้ง ศาสตร์และศิลป์ประกอบกันไป
เนื่องด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างความมั่งคั่งของบุคคล
กับรัฐนั้นมีลักษณะเฉพาะของแตกต่างกันไป
จากรายงาน ของฟอร์บส์นั้น พบว่าพระมหากษัตริย์หลายพระองค์
มีพระราชทรัพย์ลดลง เนื่องจากผลกระทบที่ต่างๆ กันไป
ฟอร์บระบุว่า ได้ติดตามสถานะของราชวงศ์ระดับแนวหน้า
จำนวนหนึ่งมาหลายปี แต่การนำเสนอผ่าน
บทความดังกล่าวเป็นเพียงครั้งที่ 2
ที่เผยแพร่ทำเนียบกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดอย่างละเอียด
แต่สถาบัน กษัตริย์ของประเทศอย่างสเปน
และญี่ปุ่นกลับพลาดที่จะเข้าร่วมการจัดอันดับไปอย่างน่าเสียดาย


ลำดับที่ 10. Sultan Qaboos bin said of Oman



มีพระราชทรัพย์สุทธิ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
สุลต่านกาบุส ทรงขึ้นครองราชเมื่อปี1970
หลังสิ้นสุดอำนาจของผู้เป็นพ่อ
สุลต่านกาบุสได้ ทรัพย์สินจากการส่งออกน้ำมัน
ปัจจุบันพระองค์ได้หันมาทำธุรกิจการท่องเที่ยวของประเทศ

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -


ลำดับที่ 9. Princes Albert II of Monaco



เจ้าชายอัลเบิร์ตที่ 2 แห่งโมนาโก เป็นกษัตริย์พระองค์เดียว
ที่ยังไม่อภิเษกสมรส และถูกร่ำลือว่าทรงส่งแฟนสาว
ของพระองค์เข้าเรียน คอร์สติวเข้มภาษาฝรั่งเศส
พระองค์มีพระราชทรัพย์ประมาณ 1.4 พันล้านเหรียญฯ
ประกอบไปด้วยอสังหาริมทรัพย์
และหุ้นส่วนกิจการ คาสิโนในโมนาโก
พร้อมทั้งทรงวางแผนที่จะขยายพื้นที่ของประเทศ
(ซึ่งมีขนาดเท่ากับ Central Park ในนิวยอร์ก)
โดยการสร้างเขต ปกครองใหม่ในทะเล
ซึ่งจะตั้งอยู่บนเสาขนาดมหึมา โครงการดังกล่าวนี้
สร้างความวิตกกังวลแก่นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่พอสมควร

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -


ลำดับที่ 8. King Mohammed VI of Morocco



กษัตริย์โมฮัมหมัดที่ 6 แห่งประเทศโมร็อกโก
ขณะนี้มีทรัพย์สินรวม 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
ลดลงจากปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 2 พันล้านเหรียญฯ
เนื่องจากภัยแล้งที่รุนแรงส่งผลให้อัตราการเติบโต
ทางเศรษฐกิจของประเทศชะลออยู่ที่ระดับ 2 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งได้มาจากการทำเหมืองแร่ฟอสเฟต, เกษตรกรรม
และทรงร่วมหุ้นกับบริษัท
Morocco's largest public company, ONA.

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -


ลำดับที่ 7. Sheikh Hamad bin Khalifa Al Thani of Qatar



ชีค ฮาหมัด บิน คาลิฟา อัล ธานี่
มีทรัพย์สินโดยประมาณรวม 3พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -


ลำดับที่ 6. Prince Hans-Adam II von und zu Liechtenstein of Liechtenstein



เจ้าชายฮันส์ อาดัมที่ 2 แห่งลิกเตนสไตน์
มีพระราชทรัพย์ทรัพย์ประมาณการ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
โดยที่ LGT Bank ซึ่งเป็นแหล่งทุนหลักของพระองค์
(บริหารโดยราชวงศ์มากว่า 70 ปี)
ตกเป็นเป้าในคดีหลีกเลี่ยงภาษีอันอื้อฉาว
ซึ่งบริษัทของพระองค์ถูกกล่าวหาว่า
ช่วยเหลือลูกค้าฐานะดีหลายรายในการ “ซุกซ่อน” ทรัพย์สิน
จากการสืบสวนของวุฒิสมาชิกสหรัฐฯ พบว่า
พระอนุชาของพระองค์ (เจ้าชายฟิลิป) มีส่วนเกี่ยวข้อง
ในการนี้ในฐานะที่ดำรงตำแหน่งประธานของ LGT


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -


ลำดับที่ 5. Sheikh Mohammed bin Rashid Al Maktoum of Dubai



ชีค โมฮัมหมัด บิน ราชิด อัล มาคทูม แห่งดูไบ
ทรงมีพระราชทรัพย์สุทธิ 18 พันล้านเหรียญฯ
เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ Dubai Holding
ซึ่งมีการลงทุนใหญ่ๆ ในหลายบริษัท เช่น โซนี่
และบริษัทผลิตอาวุธ EADS และเมื่อเร็วๆ นี้
กองทุนรวมเพื่อการลงทุนของชีคพระองค์นี้
ได้ใช้เงิน 5 พันล้านเหรียญฯ เพื่อถือหุ้น
ในบริษัท MGM Mirage และ 825 ล้านเหรียญฯ
เพื่อซื้อกิจการค้าปลีก Barneys New York
และทรง เข้ามาซื้อหุ้นใหญ่สุดของสโมสรในอังกฤษอีกด้วย

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -


ลำดับที่ 4. Sultan Haji Hassanal Bolkiah of Brunei




สุลต่านแห่งบรูไน ซึ่งเป็นกษัตริย์จากเอเชียจากสองประเทศ
ที่เข้าทำเนียบราชวงศ์ที่รำรวยของฟอร์บ
ราชทรัพย์ของสุลต่านแห่งบรูไน (ทรัพย์สิน 20 พันล้านเหรียญฯ)
ลดลงจากปีที่ผ่านมาเนื่องจากต้องลดอัตราการผลิตน้ำมัน
เนื่องจากปริมาณสำรองน้ำมันในประเทศบรูไนลดลง
โดยฟอร์บระบุว่า กิจการน้ำมันนั้นเป็นมรดกตกทอด
ของราชวงศ์บรูไนซึ่งเป็นราชวงศ์มุสลิมซึ่งมีอายุกว่า 600 ปี

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -


ลำดับที่ 3. King Abdullah bin Abdul Aziz of Saudi Arabia




กษัตริย์อับดุลลาห์ บิน อับดุล อาซิซ แห่งซาอุฯ
ทรงมีทรัพย์สินประมาณการที่ 21.5 พันล้านเหรียญฯ
รายได้มหาศาลของพระองค์ได้มาจากอุตสาหกรรมน้ำมัน
ที่ซาอุดีอาระเบีย มี*ส่วนการผลิตถึง 25 % ของแหล่งน้ำมัน
ทั่วโลก และธุรกิจการบินของสายการบินซาอุดี อาระเบียนส์
แอร์ไลน์ แต่อย่างไรก็ตามมีการคาดการณ์กันว่า
แหล่งน้ำมันของซาอุดีอาระเบีย จะหมดลงในปีค.ศ.2040
หรืออีกใน 32 ปี ข้างหน้านี้

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -


ลำดับที่ 2. Sheikh Khalifa bin Zayed Al Nahyan of the United Arab Emirates



ชีค คาลิฟา บิน ซาเ ยด อัล นาห์ยาน แห่งอาบูดาบี
(สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) มีพระราชทรัพย์ประมาณ
23 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ ความมั่งคั่งของพระองค์
เกิดจากการที่เมืองอาบูดาบี เป็นเมืองที่มีแหล่งน้ำมัน
สำรองคิดเป็น 95 เปอร์เซ็นต์ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
นอกจากนั้น อาบูดาบียังมีชื่อเสียง เนื่องมาจากการลงทุน
ระดับแนวหน้าโดยบรรษัทที่รัฐเป็นเจ้าของนั่นคือ
เงินลงทุน 7.5 พันล้านเหรียญฯ ในบริษัท Citibank

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -


ลำดับที่ 1. King Bhumibol Adulyadej of Thailand



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
แห่งราชอาณาจักรไทย ทรงอยู่ในลำดับสูงสุด
ของทำเนียบราชวงศ์ที่รวยที่สุดในโลกในปีนี้
โดยมีพระราชทรัพย์ประมาณการได้ล่าสุดกว่า 35 พันล้าน
เหรียญฯ (1.19 ล้านล้านบาท ตามอัตราแลกเปลี่ยน
1 บาท: 34 ดอลลาร์)
โดย พระราชทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นนี้สืบเนื่องจากความโปร่งใส
ที่เพิ่มขึ้นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั่นเอง

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
พระราชประวัติพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มีพระนามเดิมว่า หลุยส์-ดิเยอดองเน (Louis-Dieudonné) สมัยประทับอยู่ที่พระราชวังแซงต์-แชร์แมง-ออง-เลย์ (วันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1638) ต่อมามีพระนามว่า เลอ รัว-โซแลย (le Roi-Soleil) ซึ่งแปลว่า สุริยกษัตริย์ เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1715 เมื่อพระองค์ประทับที่แวร์ซายส์ (Versailles) และพระนามต่อมาคือ หลุยส์ เลอ กรองด์ (Louis le Grand) แปลว่าหลุยส์ผู้ยิ่งใหญ่ เริ่มใช้วันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1643 จนกระทั่งพระองค์สวรรคต พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส แลพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งนาวาร์ พระองค์มีเชื้อสายทั้งราชวงศ์บูร์บงและราชวงศ์กาเปเตียง พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ครองราชย์เป็นเวลา 72 ปี จัดว่าเป็นผู้ที่ครองประเทศฝรั่งเศสนานที่สุด อีกทั้งยังเป็นพระมหากษัตริย์ในที่ครองราชย์นานที่สุดในยุโรปอีกด้วย
พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ไม่กี่เดือนก่อนวันครบรอบวันพระราชสมภพ ซึ่งจะมีพระชันษา 5 ปี แต่สมัยนั้น (ค.ศ. 1648 - ค.ศ. 1652) มีกบฎฟรองด์ (Fronde) ทำให้หน้าที่ของพระองค์มีอย่างเดียวคือ ควบคุมรัฐบาล เนื่องจากนายกรัฐมนตรี เลอ คาร์ดินาล มาซาแร็ง (le Cardinal Mazarin) หรือสังฆราชมาซาแร็ง เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1661 ออย่างไรก็ตามพระองค์ไม่แต่งตั้งผู้ใดขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีและประกาศว่า จะบริหารประเทศด้วยพระองค์เอง หลังจากคณะรัฐมนตรีของกอลแบรต์ (Colbert) ครบวาระ (หรือหมดอำนาจในการบริหารประเทศ) ในปี ค.ศ. 1683 และของลูวัร์ (คณะรัฐมนตรีของลูวัร์นี้ขึ้นตำแหน่งต่อจากลูแบร์) ครบวาระในปี ค.ศ. 1691
สมัยของพระองค์โดดเด่นในเรื่องโครงสร้างของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช (สิทธิกษัตริย์ = เทพที่มาจากสวรรค์) ประโยชน์ของพระราชอำนาจอันเด็ดขาดของพระองค์ทำให้ความวุ่นวายต่างๆหมดสิ้นไปจากฝรั่งเศส อาทิเช่นเรื่องขุนนางก่อกบฎ (สมัยพระเจ้าหลุยส์ 14 ไม่มีขุนนางผู้ไหนกล้าก่อกบฎ เพราะพระองค์ทรงมีพระราชอำจนาจเด็ดขาด) เรื่องการประท้วงของสภา เรื่องการจลาจลของพวกนิกายโปรแตสแตนท์และชาวนา ซึ่งเรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นในฝรั่งเศสมานานเป็นเวลามากกว่า 1 ทศวรรษแล้ว
ขณะที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส สวรรคต ขณะนั้นพระเจ้าหลุยส์ 14 มีพระชนมายุเพียง 5 ชันษา เนื่องจากพระองค์ยังทรงพระเยาว์มาก พระราชมารดาของพระองค์จึงทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทน โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ส่วนสังคราชมาซาแร็งเป็นผู้อุปถัมภ์พระเจ้าหลุยส์ ดิเยอดองเน ท่านรับผิดชอบด้านการศีกษาเพื่อที่จะให้พระเจ้าหลุยส์ขึ้นเป็นกษัตริย์ในอนาคต ซึ่งการศึกษานี้จะเน้นหนักไปด้านปฏิบัติ มากกว่าด้านความรู้ ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่า สังฆราชมาซาแร็งใช้อำนาจโดยผ่านลูกอุปถัมภ์ของท่านเอง ซึ่งก็คือหลุยส์ดิเยอดองเน สังฆราชมาซาแร็งถ่ายทอดความชื่นชอบในด้านศิลปะให้หลุยส์ดิเยอดองเนและสอนความรู้พื้นฐานด้านการทหาร, การเมืองและการทูต อีกทั้ง สังฆราชผู้นี้ยังนำหลุยส์ดิเยอดองเนเข้าร่วมในสภาเมื่อปี ค.ศ. 1650
พระองค์ได้ทรงลดทอนอำนาจของชนชั้นสูงที่เชี่ยวชาญในการรบ ด้วยทรงรับสั่งให้พวกเขาเหล่านั้นรับใช้พระองค์เช่นเดียวกับเหล่าสมาชิกในราชสำนัก อันเป็นการถ่ายโอนอำนาจมายังระบบธุรการแบบรวมศูนย์ และทำให้พวกเขาเหล่านั้นกลายเป็นชนชั้นสูงที่ใช้สติปัญญา พระองค์ทรงดำริให้สร้างพระราชวังแวร์ซายส์ ขึ้นในอุทยาน โดยมีการจัดสวนให้เป็นรูปทรงเรขาคณิต พระราชวังแวร์ซายที่มีขนาดใหญ่นี้ตั้งอยู่ห่างออกไปราว 15 กิโลเมตรทางตะวันตกของกรุงปารีส ที่เมืองแวร์ซาย ในเขตปริมณฑลของกรุงปารีส
                                               สงครามร้อยปี
สงครามร้อยปี (อังกฤษ: Hundred Years' War) เป็นความขัดแย้งระหว่างสองราชตระกูลที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1337 ถึงปี ค.ศ. 1453 เพื่อชิงราชบัลลังก์ฝรั่งเศสที่ว่างลงเมื่อผู้สืบเชื้อสายของราชวงศ์กาเปเตียงสิ้นสุดลง ราชวงศ์สองราชวงศ์ที่พยายามชิงราชบัลลังก์คือราชวงศ์วาลัวส์ และราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท หรือที่รู้จักกันว่าราชวงศ์อองชู ราชวงศ์วาลัวส์อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสขณะที่ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสและอังกฤษ ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทเป็นราชวงศ์ที่ปกครองราชอาณาจักรอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และมีรากฐานจากบริเวณอองชู และนอร์มังดีในฝรั่งเศส ทหารฝรั่งเศสเป็นผู้ร่วมการต่อสู้ของทั้งสองฝ่าย โดยมีเบอร์กันดี และอากีแตนสนับสนุนฝ่ายแพลนทาเจเน็ท
ความขัดแย้งยืดยาวเป็นเวลาถึง 116 ปีแต่ก็มีช่วงที่มีความสงบเป็นระยะๆ ก่อนที่จะจบลงด้วยการกำจัดราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทออกจากฝรั่งเศส (นอกจากในบริเวณคาเลส์) ฝ่ายราชวงศ์วาลัวส์จึงเป็นฝ่ายที่ได้รับชัยชนะในการกำจัดราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทออกจากฝรั่งเศสในคริสต์ทศวรรษ 1450
อันที่จริงแล้วสงครามร้อยปีเป็นสงครามที่เกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ที่มักจะแบ่งเป็นสามหรือสี่ช่วง: สงครามพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด (ค.ศ. 1337–ค.ศ. 1360), สงครามพระเจ้าชาร์ลส์ (1369–1389), สงครามพระเจ้าเฮนรี (ค.ศ. 1415–ค.ศ. 1429) และหลังจากการมีบทบาทของโจนออฟอาร์ค (ค.ศ. 1412–ค.ศ. 1431) ความได้เปรียบของฝ่ายอังกฤษก็ลดถอยลง นอกจากนั้นสงครามร้อยปีก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกันทั้งในฝรั่งเศสและอังกฤษที่รวมทั้งสงครามสืบราชบัลลังก์บริตานี, สงครามสืบราชบัลลังก์คาสตีล และสงครามสองปีเตอร์ คำว่า “สงครามร้อยปี” เป็นคำที่นักประวัติศาสตร์ในสมัยต่อมาคิดขึ้นเพื่อบรรยายถึงเหตุการณ์ที่ว่านี้
สงครามมีความสำคํญทางประวัติศาสตร์หลายประการ แม้ว่าจะเป็นสงครามของความขัดแย้งกันหลายด้านแต่ก็เป็นสงครามที่ที่ทำให้ทั้งฝ่ายอังกฤษเริ่มมีความรู้สึกถึงความเป็นชาตินิยม ทางด้านการทหารก็มีการนำอาวุธและยุทธวิธีใหม่ๆ มาใช้ที่ทำให้ระบบศักดินาที่ใช้การต่อสู้บนหลังม้าเป็นหลักเริ่มหมดความสำคัญลง ในด้านระบบการทหารก็มีการริเริ่มการใช้ทหารประจำการที่เลิกใช้กันไปตั้งแต่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงบทบาทของเกษตรกร ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้ทำให้เห็นว่าเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์การสงครามของยุคกลาง ในฝรั่งเศสการรุกรานของฝ่ายอังกฤษ, สงครามกลางเมือง, การระบาดของเชื้อโรค, ความอดอยาก และการเที่ยวปล้นสดมของทหารรับจ้างและโจรทำให้ประชากรลดจำนวนลงไปถึงสองในสามในช่วงเวลานี้[1] เมื่อต้องออกจากแผ่นดินใหญ่ยุโรปอังกฤษก็กลายเป็นชาติเกาะที่มีผลต่อนโยบายและปรัชญาของอังกฤษต่อมาถึง 500 ปี[2]
                                 Y2K คือ
ในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์มีบทบาทสำคัญในการนำมาใช้งานเพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงานในทุกๆด้านของโลกปัจจุบันทั้งงานของรัฐบาลบริษัทเอกชน องค์กรต่างๆ ทั่วโลก หน่วยงานต่างๆเหล่านี้กำลังเผชิญกับปัญหาจากระบบคอมพิวเตอร์ อันสืบเนื่องมาจากการมาถึงของปี ค.ศ. 2000 หรือที่ เรียกกันว่า " ปัญหาY2K " หรือ " ปัญหา MilleniumBug "ซึ่งทุกวินาที่ที่ผ่านไปในปี ค.ศ.1999นี้ล้วนมีความ หมายต่อความอยู่รอดของทุกองค์กรเป็นปัญหาทางธุรกิจและอุสาหกรรมจึงมีสื่อหลายแขนงที่ คอยให้ข้อมูลในการแก้ปัญหาY2Kสำหรับภาคอุตสาหกรรมซึ่งสำคัญมาในแต่ละประเทศก็ได้รับ ความสนใจไม่น้อยเพราะปัจจุบันเทคโนโลยีทางไมโครโพรเซสเซอร์(Microprosseser) ได้เข้าไป อยู่ในทุกโรงงานอาทิเช่น ในอุปกรณ์ควบคุมอย่าง PLC และระบบอัตโนมัติทั้งหลาย ,ระบบรักษา ความปลอดภัย ,ระบบควบคุมลิฟต์ ,ระบบควบคุมคลังสินค้า ,ระบบป้องกันเพลิงไหม้ และระบบ อิเล็กทรอนิกส์ และอื่นๆอีกมากที่ต้องได้มีการประเมินและสำรวจ ปัญหาY2K จึงน่าเป็นห่วงมากถ้าขาดความสนใจจากผู้ดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมเพราะความเสียหายที่ จะเกิดขึ้นหลังเที่ยงคืนวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ.1999 อาจร้ายแรงเกินกว่าจะรับมือได้ ซึ่งปัญหาดังกล่าวอาจ กล่าวได้ว่าเปรียบเสมือนระเบิดเวลาที่ตั้งไว้ตั้งแต่มีระบบคอมพิวเตอร์เกิดขึ้น บทความนี้จึงต้องการให้ ผู้ดำเนินธุรกิจและองค์กรต่างๆเริ่มต้นแก้ปัญหาได้ถูกต้องและรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าปัญหา Y2K แสดง ผลในปี ค.ศ. 2000