วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ฌอง ฌาค รุสโซ





     28 มิถุนายน พ.ศ. 2255 วันเกิด ฌอง-ฌาค รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau) นักปรัชญาสังคมชาวสวิส ผู้มีอิทธิพลต่อการ ปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolution) ผู้นำคนสำคัญแห่ง ยุคแสงสว่างทางปัญญา (Enligntenment) เกิดที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ มารดาเสียชีวิตหลังจากคลอดเขาได้เพียง 9 วัน บิดาเป็นช่างนาฬิกาที่ไม่ประสบความสำเร็จ ตอนอายุ 6 ขวบ พ่อของเขาติดคุก จึงต้องไปอยู่กับลุง เขาหัดอ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็กและเรียนรู้ด้วยตัวเอง ตอนอายุ 16 ปีออกจากเจนีวา เดินทางท่องเที่ยวและหางานทำไปเรื่อย ๆ จนได้เป็นผู้ช่วยทูต ในปี 2293 เขาตีพิมพ์หนังสือ Discourse on the Arts and Sciences ซึ่งประสบความสำเร็จและสร้างชื่อให้เขาอย่างมาก อีกสิบเอ็ดปีต่อมาก็ตีพิมพ์นิยายเรื่องแรก Julie, ou la nouvelle Heloise (The New Heloise) จากนั้นก็มีผลงานออกมาเสมอทั้งหนังสือวิชาการและนิยาย ผลงานที่มีชื่อเสียงได้แก่ The Social Contract, or Principles of Political of political Right และ The Confessions of Jean-Jacques Rousseau รุสโซเชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์เป็นคนดี แต่สังคมทำให้มนุษย์แปดเปื้อน และมนุษย์มีเสรีภาพตามธรรมชาติโดยไม่จำกัด แต่เมื่อมนุษย์รวมตัวเป็นสังคมจึงต้องมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพบางส่วนโดยาการทำ "สัญญาประชาคม" (The Social Contract) เพื่อไม่ให้เกิดการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของกันและกัน เขากล่าวว่า "มนุษย์เกิดมาพร้อมเสรีภาพ แต่ทุกหนทุกแห่ง เขาต้องอยู่ในเครื่องพันธนาการ" ความคิดรุสโซมีอิทธิพลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศส ในปี 2332 และพัฒนาเป็นทฤษฎีสังคมนิยม (socialist theory) และมีส่วนสำคัญของพัฒนาการทางแนวคิด โรแมนติก (Romanticism) ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 19
ฌอง-ฌาค รุสโซ (Jean Jaques Rousseau) (28 มิถุนายน พ.ศ. 2255 - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2321) เป็นนักปรัชญา, นักเขียน, นักทฤษฎีการเมือง, และนักประพันธ์เพลงที่ฝึกหัดด้วยตนเอง แห่งยุคแสงสว่าง

ปรัชญาของรุสโซ
คำสอนของเขาสอนให้คนหันกลับไปหาธรรมชาติ { back to nature } เป็นการยกย่องคุณค่าของคนว่า "ธรรมชาติของคนดีอยู่แล้วแต่สังคมทำให้คนไม่เสมอภาคกัน" เขาบอกว่า "เหตุผลมีประโยชน์ แต่มิใช่คำตอบของชีวิต ดังนั้นเราจึงต้องพึ่งความรู้สึก สัญชาตญาณและอารมณ์ของเราเอง ให้มากกว่าเหตุผล"

ทฤษฎี 'คนเถื่อนใจธรรม'
รุสโซเชื่อว่ามนุษย์นั้นเป็นคนดีโดยธรรมชาติ หรือเป็น "คนเถื่อนใจธรรม" (nobel savage) เมื่ออยู่ในสภาวะธรรมชาติ (สภาวะเดียวกันกับสัตว์อื่นๆ และเป็นสภาพที่มนุษย์อยู่มาก่อนที่จะมีการสร้างอารยธรรม และสังคม) แต่ถูกทำให้แปดเปื้อนโดยสังคม เขามองสังคมว่าเป็นสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น และเชื่อว่าการพัฒนาของสังคม โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของการพึ่งพากันในสังคมนั้น เป็นสิ่งที่อันตรายต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์

ความเรียงชื่อ "การบรรยายเกี่ยวกับศิลปะและวิทยาศาสตร์" (พ.ศ. 2293) ที่ได้รับรางวัลของเมือง ได้อธิบายว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์นั้น ไม่เป็นประโยชน์กับมนุษย์ เขาได้เสนอว่าพัฒนาการของความรู้ทำให้รัฐบาลมีอำนาจมากขึ้น และทำลายเสรีภาพของปัจเจกชน เขาสรุปว่าพัฒนาการเชิงวัตถุนั้น จะทำลายโอกาสของความเป็นเพื่อนที่จริงใจ โดยจะทำให้เกิดความอิจฉา ความกลัว และ ความระแวงสงสัย

งานชิ้นถัดมาของเขา การบรรยายว่าด้วยความไม่เสมอภาค ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาและการทำลายของมนุษย์ ตั้งแต่ในสมัยโบราณ จนถึงสมัยใหม่ เขาเสนอว่ามนุษย์ในยุคแรกสุดนั้น เป็นมนุษย์ครึ่งลิงและอยู่แยกกัน มนุษย์แตกต่างจากสัตว์เนื่องจากมีความต้องการอย่างอิสระ (free will) และเป็นสิ่งที่สามารถแสวงหาความสมบูรณ์แบบได้ เขายังได้กล่าวว่ามนุษย์ยุคบุคเบิกนี้มีความต้องการพื้นฐาน ที่จะดูแลรักษาตนเอง และมีความรู้สึกห่วงหาอาทรหรือความสงสาร เมื่อมนุษย์ถูกบังคับให้ต้องมีความสัมพันธ์กันมากขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากร จึงได้เกิดการปรับเปลี่ยนทางด้านจิตวิทยา และได้เริ่มให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของคนอื่น ๆ ว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อกาีรมีชีวิตที่ดีของตนเอง รุสโซได้เรียกความรู้สึกใหม่นี้ ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิบานของมนุษย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น