วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ตูร์เดอฟรองซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตูร์เดอฟรองซ์ (Tour de France)
ชื่อท้องถิ่นเลอตูร์เดอฟรองซ์
(Le Tour de France)
ภูมิภาคฝรั่งเศสและประเทศใกล้เคียง
วันที่7 ถึง 26 กรกฎาคม (ค.ศ. 2009)
ประเภทStage Race (Grand Tour)
General DirectorChristian Prudhomme
ประวัติ
แข่งขันครั้งแรกค.ศ. 1903 (พ.ศ. 2446)
จำนวนการแข่งขัน96 (ค.ศ. 2009)
ผู้ชนะคนแรกธงชาติของฝรั่งเศส โมรีซ กาแรง
ชนะมากที่สุดFlag of the United States แลนซ์ อาร์มสตรอง (7) ค.ศ. 1999-2005
ผู้ชนะล่าสุดธงชาติของสเปน อัลเบอร์โต้ คอนทาดอร์ (2009)
Most career Yellow Jerseysธงชาติของเบลเยียม เอดดี เมิกซ์ (96) (111 overall incl. half stages)
ชนะแต่ละช่วงมากที่สุดธงชาติของเบลเยียม เอดดี เมิกซ์ (34)

Bicycle-icon.png ตูร์เดอฟรองซ์ (ฝรั่งเศส: Tour de France หมายถึง การท่องฝรั่งเศส) หรือบางครั้งเรียกว่า ลากรองด์บูกล์ (La Grande Boucle) และ เลอตูร์ (Le Tour) เป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลรอบประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลา 3 สัปดาห์ในช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี เริ่มจัดขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1903 จนถึงปัจจุบัน (เว้นการจัดแข่งขันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสอง)
ตูร์เดอฟรองซ์ เป็นการแข่งขันจักรยานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก เป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลหนึ่งในสามรายการใหญ่ ที่จัดการแข่งขันในยุโรป รวมเรียกว่า แกรนด์ทัวร์ โดยอีกสองรายการคือ
การแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1903 เกิดขึ้นเนื่องจากการท้าทายกันทางหน้าหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสชื่อ โลโต้ (L'Auto) มีนักแข่งเข้าร่วมจำนวนถึง 60 คน แต่สามารถเข้าเส้นชัยได้เพียง 21 คน ซึ่งกิตติศัพท์ของความยากลำบากในการแข่งขัน ทำให้การแข่งขันนี้เป็นที่สนใจ และมีผู้ชมการแข่งขันช่วงสุดท้ายในกรุงปารีส ตามสองฟากถนนระหว่างทางราว 100,000 คน และกลายเป็นประเพณี ที่การแข่งขันทุกครั้งจะไปสิ้นสุดที่ประตูชัย จตุรัสเดอเลตวล ปารีส
ในปี ค.ศ. 1910 เริ่มมีการจัดเส้นทางแข่งขันเข้าไปในเขตเทือกเขาแอลป์ ปัจจุบันเส้นทางการแข่งขันจะผ่านทั้งเทือกเขาแอลป์ ทางตะวันออก และเทือกเขาพีเรนีสทางใต้ของฝรั่งเศส
การแข่งขันตูร์เดอฟรองซ์จะแบ่งเป็นช่วง (stage) เพื่อเก็บคะแนนสะสม ผู้ชนะในแต่ละช่วงจะได้รับเสื้อ (jersey) เพื่อสวมใส่ในวันต่อไป โดยมีสีเฉพาะสำหรับผู้ชนะในแต่ละประเภท คือ
Jersey yellow.svg
สีเหลือง (maillot jaune - yellow jersey) สำหรับผู้มีคะแนนรวมสูงสุด
Jersey green.svg
สีเขียว (maillot vert - green jersey) สำหรับผู้ชนะในแต่ละสเตจ
Jersey polkadot.svg
สีขาวลายจุดสีแดง (maillot à pois rouges - polka dot jersey) สำหรับผู้ชนะในเขตภูเขา ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า จ้าวภูเขา King of the Mountains
Jersey white.svg
สีขาว (maillot blanc - white jersey) สำหรับผู้มีคะแนนรวมสูงสุด ที่อายุต่ำกว่า 25 ปี
Jersey worldtour.svg
สีรุ้ง (maillot arc-en-ciel - rainbow jersey) สำหรับผู้ชนะการแข่งขันจักรยานชิงแชมป์โลก (World Cycling Championship) ซึ่งมีกฏว่าจะต้องใส่เสื้อนี้เมื่อแข่งขันในประเภทเดียวกับที่ผู้แข่งนั้นเป็นแชมป์โลกอยู่
Jersey combined.svg
เสื้อแบบพิเศษ สำหรับผู้มีคะแนนรวมสูงสุด และชนะการแข่งขันช่วงย่อย และจ้าวภูเขา

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ผู้ชนะเลิศ

รายชื่อผู้ชนะเลิศตั้งแต่ครั้งแรกในภาษาอังกฤษอยู่ทางด้านขวา
แลนซ์ อาร์มสตรอง นักแข่งจักรยานชาวอเมริกัน เป็นผู้ที่ชนะการแข่งขันตูร์เดอฟรองซ์มากที่สุด คือ 7 สมัยติดต่อกัน รองมาคือ มีเกล อินดูเรน (สเปน) ชนะ 5 สมัยติดต่อกัน แบร์นาร์ อีโนล (ฝรั่งเศส) ชาก อองเกอตีล (ฝรั่งเศส) และเอดดี เมิกซ์ (เบลเยียม) ชนะคนละ 5 สมัย

[แก้] ผู้ชนะเลิศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991

การแข่งขันครั้งที่ปี ค.ศ.ผู้ชนะเลิศ
78-821991-1995ธงชาติของสเปน มีเกล อินดูเรน (5 ปีติดต่อกัน)
831996ธงชาติของเดนมาร์ก บียานร์น รีส์*
841997ธงชาติของเยอรมนี แยน อุลริช
851998ธงชาติของอิตาลี มาร์โก แพนตานี
86-921999-2005Flag of the United States แลนซ์ อาร์มสตรอง (7 ปีติดต่อกัน)
932006ธงชาติของสเปน โอสการ์ เปเรย์โร (Flag of the United States ฟลอยด์ แลนดิส ถูกตัดสิทธิ์เนื่องจากใช้สารกระตุ้น[1])
942007ธงชาติของสเปน อัลเบอร์โต คอนทาดอร์
952008ธงชาติของสเปน คาร์ลอส ซาสเตร
  • ในปี 2007 บียานร์น รีส์ ยอมรับว่าได้ใช้สารกระตุ้นระหว่างการแข่งขันทำให้ผู้จัดการแข่งขันปฏิเสธที่จะยอมรับสถานะผู้ชนะเลิศของเขา ทว่าสหพันธ์จักรยานสากล (Union Cycliste Internatinale - UCI) แถลงว่าหมดเวลาที่จะตัดสิทธิ์เขาจากการเป็นผู้ชนะเลิศ จึงเพียงแต่ขอร้องให้เขาคืนเสื้อสีเหลืองที่แสดงสถานะของการเป็นผู้ชนะเลิศ [2]

ประโยชน์ของวิตามินอี

วิตามินอี ความสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

วิตามินเป็นสารอินทรีย์ที่มีอยู่ในอาหารที่จำเป็นสำหรับร่างกายคนเราอย่างยิ่ง ช่วยให้ร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและต่อสู้กับความเจ็บป่วยได้
ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์รวบรวมวิตามินได้ประมาณ 13 ชนิด หนึ่งในนั้นได้แก่ วิตามินอี ที่เรามักได้ยินกิตติศัพท์ร่ำลือในด้านการป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความแก่ชรา ดังนั้นนอกจากในอาหารแล้ว ยังพบว่ามีการสกัดวิตามินอีมาผสมในเครื่องสำอางหลายชนิด คราวนี้จึงขอพาคุณทำความรู้จักกับวิตามินอี และประโยชน์ต่อร่างกายคนเราให้มากขึ้น
วิตามินอี คืออะไร? วิตามินอี หรือ โทโคเฟอรอล (tocopherol) เป็นวิตามินชนิดหนึ่งที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับเป็นประจำทุกวัน มีลักษณะเป็นน้ำมันสีเหลือง และละลายได้ดีในไขมัน เช่นเดียวกับวิตามินเอ วิตามินดี และวิตามินเค วิตามินอี มีหลายชนิด ได้แก่ แอลฟา เบตา แกมมา และซิกมา โทโคเฟอรอล โดยชนิดที่ออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด คือ แอลฟาโทโคเฟอรอล (alpha-tocopherol)


ประโยชน์ของวิตามินอีต่อร่างกาย
เนื่องจากผนังของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายมีไขมันที่ไม่อิ่มตัวเป็นโครงสร้างหลัก โครงสร้างที่ว่านี้จะถูก ทำลายได้ง่ายด้วยกระบวนการออกซิเดชัน (oxidation) และส่งผลให้เกิดสารอนุมูลอิสระ (free radicals) ชนิดต่างๆ ตามมา ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างภายในเซลล์ที่สัมผัสกับสารอนุมูลอิสระ วิตามินอี เป็นสารต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันและอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ (potent antioxidant) ซึ่งมีผลในการป้องกันการทำลายเซลล์ หรือลดความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ที่มีสาเหตุมาจากอนุมูลอิสระได้ นอกจากนี้ยังมีผลช่วยปกป้องการเสื่อมสลายของเยื่อหุ้มเซลล์ (stabilize) ที่บุอยู่ตามอวัยวะต่างๆ เช่น ผิวหนัง ตา ตับ เต้านม หลอดเลือด และเม็ดเลือดแดง ทำให้อวัยวะดังกล่าวทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีความคงทนมากขึ้นด้วย


วิตามินอีกับโรคมะเร็ง
คุณสมบัติที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระของวิตามินอี นอกจากจะช่วยป้องกันเซลล์จากการทำลายของปฏิกิริยาออกซิเดชันและการเกิดอนุมูลอิสระแล้ว วิตามินอียังช่วยป้องกันการเกิดสารไนโตรซามีน (nitrosamines) ตัวการหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง โดยเกิดจากการทำปฏิกิริยาของสารจำพวกไนไตรท์ที่มีในอาหารที่รับประทานเข้าไปภายในกระเพาะอาหาร และยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายอีกด้วย นอกจากนี้การศึกษาในห้องปฏิบัติการพบว่าวิตามินอียังมีผลช่วยยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งได้

วิตามินอีกับการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
กระบวนการออกซิเดชันของไขมันชนิด LDL (low density lipoprotein) ซึ่งเป็นไขมันชนิดเลวในเลือดจะ มีผลทำให้เส้นเลือดเกิดความเสียหายอย่างมาก มีหลักฐานที่แสดงว่าวิตามินอี มีคุณสมบัติช่วยลดการเกิดกระบวนการที่ว่านี้ และช่วยลดการเกาะตัวกันของเกล็ดเลือด (platelet aggregation) ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจดีขึ้น และยังช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคระบบหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงหลอดเลือดสมองด้วย โดยได้มีการศึกษาในประเทศอังกฤษพบว่าคนที่ได้รับวิตามินอีอย่างน้อยวันละ 100 IU หลังการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจจะช่วยป้องกันการสะสมของไขมันที่ผนังเลือดได้ และคนที่ได้รับวิตามินอีประมาณวันละ 400-800 IU อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อยปีครึ่งจะช่วยป้องกันอัตราการเกิดโรคหัวใจวายได้ถึง 77%

วิตามินอีกับโรคเบาหวาน เชื่อกันว่าสาเหตุที่คนเป็นโรคเบาหวานจะมีการสะสมของสารอนุมูลอิสระเนื่องจากกระบวนการเผาผลาญสารอาหารในร่างกายผิดปกติ นอกจากนี้แล้วยังมีอัตราการตายจากการเกิดโรคแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดหัวใจได้สูง มีงานวิจัยที่แสดงว่าคนเป็นโรคเบาหวานที่รับประทานวิตามินอีเพียงวันละ 100 IU จะช่วยทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ได้ดี และยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงของหลอดเลือดอีกด้วย


วิตามินอีกับโรคต้อกระจก โรคต้อกระจก (cataracts) เป็นความผิดปกติของเลนส์ตาทำให้มองภาพไม่ชัดเจน และอาจตาบอดได้ โดยเชื่อว่าเกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันที่ผิดปกติของโปรตีนในเลนส์ตา มีการศึกษาพบว่าสารที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระจำพวกวิตามินอีสามารถช่วยป้องกัน และชะลอการเกิดของโรคต้อกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่พบว่าสารในกลุ่มนี้ไม่ช่วยให้เกิดผลดีได้ในคนที่สูบบุหรี่ โดยพบว่าการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของการเกิดโรคต้อกระจก อย่างไรก็ดีจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลไกของสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินอีเกี่ยวกับโรคต้อกระจก


วิตามินอี สารอาหารที่ช่วยชะลอความแก่
สารอนุมูลอิสระจะมีผลทำให้เซลล์เกิดความเสียหายและตายได้ในที่สุด ซึ่งนอกจากจะเป็นสาเหตุทำให้ ร่างกายอ่อนแอและแก่เร็วกว่าปกติแล้ว หากเกิดที่สมองก็จะทำให้มีโอกาสเป็นโรคเรื้อรังทางสมองต่างๆ เช่น โรคสมองเสื่อม (Alzheimer’s disease) โรคพาร์คินสัน (Parkinson’s disease) เป็นต้น จากการศึกษาทางคลินิกพบว่าผู้ที่รับประทานวิตามินอี 1,300 IU ต่อวันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ปีจะช่วยชะลอการเกิดโรคสมองเสื่อมจากการอุดตันของเส้นเลือดในสมองได้


วิตามินอีช่วยแก้ไขข้อบกพร่องของระบบสืบพันธุ์
มีการศึกษาพบว่าผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ได้รับวิตามินอีวันละ 800 IU อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน สามารถช่วยลดอาการต่างๆ เช่น อาการร้อนวูบวาบ นอนไม่หลับ เหนื่อยล้า ซึมเศร้า และเจ็บหน้าอกได้ นอกจากนี้ในผู้ชายที่มีระบบสืบพันธุ์ไม่สมบูรณ์ พบว่าเมื่อได้รับวิตามินอี วันละ 200 IU อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 เดือน จะมีโอกาสมีบุตรสูงขึ้น เนื่องจากวิตามินอีช่วยลดระดับของอนุมูลอิสระในน้ำอสุจิ จึงทำให้ผนังเซลล์อสุจิแข็งแรงขึ้น และส่งผลให้มีอัตราการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นถึง 30% แต่ก็อาจไม่ปรากฏผลหากคนนั้นเป็นคนสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งจะทำลายความแข็งแรงของอสุจิ และอาจทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายเสื่อมโทรมลง


วิตามินอีกับผิวพรรณ
สถาบันโรคผิวหนังหลายแห่งมีการวิจัยพบว่าวิตามินอีช่วยป้องกันผิวจากการไหม้เกรียม ริ้วรอยเหี่ยวย่นและรอยแผลได้ดี ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานหรือการทาที่ผิวหนังโดยตรง เนื่องจากการเกิดแผลหรือการอักเสบบนผิวหนัง หรือการถูกแสงแดดเผาไหม้จะทำให้เกิดการสะสมของอนุมูลอิสระขึ้น วิตามินอีจะทำหน้าที่เหมือนฟองน้ำที่ดูดซับสารอนุมูลอิสระก่อนที่จะทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ เสียหาย จึงช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของผนังเซลล์ทำให้เซลล์ผิวแข็งแรงขึ้น และช่วยให้ทนต่อรังสี UV ในแสงแดดได้ดีขึ้น ดังนั้นผู้ผลิตเครื่องสำอางจึงนิยมนำวิตามินอีมาใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์จะเกิดอะไรขึ้นหากได้รับวิตามินอีมากเกินไป เนื่องจากวิตามินอีไม่สามารถละลายในน้ำได้ ร่างกายจึงไม่สามารถขับวิตามินอีออกจากร่างกายได้ทาง ปัสสาวะดังเช่นวิตามินซี หรือวิตามินบี โดยร่างกายจะขับวิตามินอีส่วนเกินบางส่วนออกมาทางอุจจาระ ดังนั้นหากรับประทานวิตามินอีมากเกินไปจะสะสมในร่างกาย นำผลเสียคือ อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ไปจนถึงกล้ามเนื้ออ่อนแรง จึงแนะนำว่าไม่ควรรับประทานอาหารเสริมประเภทวิตามินอีมากเกินกว่า 1,500 IU ต่อวัน
อาหารชนิดใดบ้างที่เป็นแหล่งของวิตามินอี? แหล่งอาหารที่มีวิตามินอีอยู่ในปริมาณสูง ได้แก่ นม ไข่ ถั่ว ปลา เนื้อสัตว์ เช่น เป็ด ไก่ น้ำมันพืชต่างๆ ผักที่กินใบ เช่น ผักกาดหอม ผักโขม เป็นต้น ถึงแม้ว่าวิตามินอีจะค่อนข้างทนต่อความร้อนและไม่ละลายในน้ำก็ตาม แต่การประกอบอาหารที่ใช้ความร้อนสูงๆ เช่น การทอด รวมทั้งการเหม็นหืนของน้ำมันก็อาจทำให้วิตามินอีสูญเสีย สภาพไปได้
จะเห็นว่าวิตามินอี มีอยู่ในอาหารหลากหลายชนิด ดังนั้นถ้าได้เลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับ ความต้องการของร่างกายแล้ว...หนทางสู่การมีสุขภาพดีก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมค่ะ...

ที่มาข้อมูล :นิตยสาร Health Today

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อาทิตย์ทำช้าไปหน่อย

นักวิทยาศาสตร์สำคัญของโลก

ชื่อ : กาลิเลโอ  กาลิเลอี
         (Galileo  Galilei)
  ประวัติ : นักวิทยาศาสตร์ และนักปราชญ์ ชาวอิตาลี  เกิด  ค.ศ.  1564  ที่เมืองปิซา  ประเทศ อิตาลี  ตาย  ค.ศ.  1642  รวมอายุ  78  ปี
ผลงานสำคัญ : พบกฎการแกว่งของลูกตุ้มนาฬิกา  ประดิษฐ์เครื่องมือจับการเต้นของชีพจร  พบเครื่องชั่งไฮโดรสแตติก  พบว่า วัตถุ  2  ชนิดที่มีน้ำหนักต่างกัน แต่ขนาดและรูปร่างเหมือนกัน  เมื่อปล่อยลงมาจากที่สูงจะตกลงมาถึงพื้นดินพร้อมกัน  ประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์แบบหักเห ที่มีกำลังขยายมากถึง  33  เท่า  พบว่า ผิวของดวงจันทร์ขรุขระ  พบว่า ทางช้างเผือกประกอบด้วยดาวจำนวนมาก พบดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี  พบจุดดับบนดวงอาทิตย์  เชื่อว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของสุริยจักรวาล  หนังสือเล่มสุดท้ายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ใหม่ ซึ่งเป็นการวางหลักไว้ จนนิวตันสามารถนำไปวางเป็นกฎแห่งการเคลื่อนที่ ซึ่งใช้กันมาจนทุกวันนี้
ชื่อ : เซอร์ไอแซก  นิวตัน
        (Sir  Isaac  Niwton)
ประวัต: นักคณิตศาสตร์  นักวิทยาศาสตร์ และนักปรัชญา  เกิด  ค.ศ. 1642 ที่ลินคอล์นเคาน์ตี้ ประเทศอังกฤษ  ตาย ค.ศ. 1727  อายุ  85  ปี
ผลงานที่สำคัญ : คิดทฤษฎีไบโนเมียลได้  คิดฟลักเซียลได้สำเร็จ  ซึ่งต่อมาเรียกใหม่ว่า กฎเกณฑ์ในวิชาอินทีกราลแคลคูลัส  สร้างกล้องโทรทัศน์แบบสะท้อนแสง  พบแรงโน้มถ่วงของโลก และความโน้มถ่วงของจักรวาล และตั้งกฎของความโน้มถ่วง (Law  of  Gravitation) พบว่า ปริซึมสามารถแยกแสงจากดวงอาทิตย์ได้เป็น  7  สี  คือ แดง  ส้ม  เหลือง  เขียว  น้ำเงิน  คราม  และม่วง  พบกฎการเคลื่นที่
ชื่อ : เจมส์  วัตต์
       (James  Watt)
ประวัต: วิศวกร และนักประดิษฐ์ชาวสกอต  เกิด  ค.ศ.  1736  ตาย  ค.ศ.  1819  รวมอายุ  83  ปี
ผลงานที่สำคัญ : เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องจักไอน้ำ สำเร็จเป็นคนแรก
ชื่อ : เบนจามิน  แฟรงคลิน
        (Benjamin  Franklin)
ประวัต : รัฐบุรุษ  นักเขียน  และนักวิทยาศาสตร์  เกิด ค.ศ. 1706  ที่เมือบอสตัน  รัฐแมสซาจูเซตส์  สหรัฐอเมริกา  ตาย  ค.ศ.  1790  รวมอายุ  84  ปี
ผลงานที่สำคัญ : ศึกษาหาความจริงเกี่ยวกับไฟฟ้า ในอากาศ  พบประจุไฟฟ้า ในอากาศ และพบว่าไฟฟ้าในอากาศ ทำให้เกิดฟ้าแลบ  ฟ้าร้อง  ฟ้าผ่า  เป็นผู้แนะนำให้รู้จักใช้สายล่อฟ้า ป้องกันฟ้าผ่า
  ชื่อ : เอ็ดเวิร์ด  เจนเนอร์
          (Edward  Jenner)
 ประวัติ : นายแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ ชาวอังกฤษ เกิด ค.ศ. 1749  ที่บาร์กลีย์  มณฑลกลอสเตอร์เชียร์ ตาย ค.ศ. 1823  รวมอายุ 74 ปี
ผลงานที่สำคัญ : ค้นพบวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ
ชื่อ : เซอร์ฮัมฟรีย์  เดวี
       (Sir  Humphry Davy)
ประวัต: นักเคมีชาวอังกฤษ  เกิด ค.ศ. 1778  ที่เมืองแพนซานช์  แคว้นคอร์นิชแมน  ตาย ค.ศ. 1829  ที่เมืองเจนีวา  รวมอายุ  56  ปี
ผลงานที่สำคัญ : พบก๊าซไตรัสออไซด์  สำหรับใช้เป็นยาสลบ  เพื่อช่วยในการผ่าตัด  ค้นพบธรรมชาติของความร้อน  ค้นพบการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า  จะแยกน้ำออกเป็นก๊าซสองชนิด  คือ  ไฮโดรเจนและออกซิเจน  ค้นพบธาตุโซเดียม และโพแทสเซียม และธาตุอื่นอีก 10 ชนิด  ประดิษฐ์ตะเกียงนิรภัย (ตะเกียงเดวี : Davy  lamp) สำหรับใช้ในเหมืองถ่านหิน
  ชื่อ : ไมเคิล  ฟาราเดย์
           (Michael  Faraday)
 ประวัติ : นักเคมี และนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ เกิด ค.ศ. 1791  ที่เมืองเซอร์เรย์  ตาย ค.ศ. 1867  รวมอายุ 76 ปี
ผลงานที่สำคัญ : พิสูจน์ว่า กระแสไฟฟ้า สามารถผลิตได้จากแม่เหล็กไฟฟ้า  ประดิษฐ์ไดนาโม ศึกษากระบวนการที่ผ่านกระแสไฟฟ้าลงไปในของเหลวเพื่อชุบโลหะ  ค้นพบกฎการแยกสลายด้วยไฟฟ้าของฟาราเดย์ (Faraday's  law  of  electrolysis) ค้นพบกฎเกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้าหลายอย่าง
ชื่อ : ชาลส์  กู๊ดเยียร์
        (Charles  Goodyear)
ประวัต : นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน  เกิด ค.ศ. 1800  ที่มลรัฐคอนเนตทิคัต  สหรัฐอเมริกา  ตาย ค.ศ.  1860  รวมอายุได้  60  ปี
ผลงานที่สำคัญ : ประดิษฐ์ยางให้มีคุณภาพดีขึ้น  โดยผสมกำมะถัน และใช้ความร้อนสูง (Vulcanization)

  ชื่อ : ชาร์ลส์  ดาร์วิน
          (Charles  Darwin)
  ประวัติ : นักธรรมชาิติวิทยา ชาวอังกฤษ  เกิด  ค.ศ. 1809  ที่ชรูว์สเบอรี่  ประเทศอังกฤษ  ตาย  ค.ศ. 1882  รวมอายุ  73  ปี
ผลงานที่สำคัญ : เป็นผู้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการ ของสิ่งมีชีวิตด้วยหลักการคัดเลือกโดยธรรมชาติ
  ชื่อ : หลุยส์  ปาสเตอร์
         (Louis  Pasteur)
   ประวัติ : นักเคมีชาวฝรั่งเศส  เกิด ค.ศ. 1822  ประเทศฝรั่งเศส  ตาย  ค.ศ. 1895  รวมอายุ  73 ปี
ผลงานที่สำคัญ : ค้นพบสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ  ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า  หรือที่เรียกว่า  จุลินทรีย์  ค้นพบการฆ่าเชื้อแบบปาสเตอร์ (Pasteuris  ation)  ค้นพบวิธีการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันพิษสุนัขบ้า  แก้โรคไหมซึ่งเป็นตัวทำลายตัวไหม และอุตสาหกรรมไหมสำเร็จ  ค้นคว้าโรคแอนแทรกศ์สำเร็จ  ค้นคว้าโรคอหิวาต์ไก่สำเร็จ
ชื่อ : โจเซฟ  ลิสเตอร์
          (Joseph  Lister)  
 ประวัติ : ศัลยแพทย์ชาวอังกฤษ  เกิด  ค.ศ. 1827  ประเทศอังกฤษ ตาย  ค.ศ. 1912  รวมอายุ  85 ปี
ผลงานที่สำคัญ : ค้นพบยาฆ่าเชื้อโรค  ทำให้การผ่าตัด ปลอดภัยขึ้น จากการติดเชื้อที่แผล

หลุยส์ ปาสเตอร์ : Louis Pasteur

เกิด        วันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1822 ที่เมืองโดล (Dole) มลรัฐจูรา (Jura) ประเทศฝรั่งเศส (France)
เสียชีวิต วันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1895 ประเทศฝรั่งเศส (France)
ผลงาน   - ค้นพบวัคซีนป้องกันพิษสุนัขป่า
             - ค้นพบว่า จุลินทรีย์เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเน่าเสีย
             - ค้นพบวิธีการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์โดยการนำมาต้มหรือเรียกว่า พาลเจอร์ไรเซชัน(Pasteurization)

          ปาสเตอร์เป็นนักเคมีผู้ยิ่งใหญ่ชาวฝรั่งเศส ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขา และคุณประโยชน์อย่างมากให้กับศาธารณชน
คือ วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า แม้ว่าโรคนี้จะไม่ได้เป็นโรคระบาดที่รุนแรง แต่ก็สามารถคร่าชีวิตคนเป็นจำนวนมากเช่นกัน
นอกจากนี้เขายังค้นพบวัคซีนอีกหลายชนิด ได้แก่ อหิวาตกโรค วัณโรค และโรคคอตีบ ผลงานของเขาที่สร้างคุณประโยชน์อย่าง
มากอีกชิ้นหนึ่ง คือ การค้นพบวิธีการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์แบบพาสเจอร์ไรต์ ในปัจจุบันวิธีการนี้เป็นที่นิยมมากที่สุดเพราะสามารถเก็บ
รักษาอาหารได้นานและปลอดภัยมากที่สุด

          ปาสเตอร์เกิดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1822 ที่เมืองโดล มลรัฐจูรา ประเทศฝรั่งเศส บิดาของเขาเป็นช่างฟอกหนังชื่อว่า
จีน โจเซฟ ปาสเตอร์ (Jean Joseph Pasteur) และเคยเป็นทหารในกองทัพของพระเจ้านโปเลียนมหาราช และได้รับเหรียญ
กล้าหาญจากสงครามด้วย ต่อมาครอบครัวของปาสเตอร์ได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองอาร์บัวส์ (Arbors) แม้ว่าฐานะครอบครัวของเขาจะมี
ฐานะไม่ดีนัก แต่บิดาก็ต้องการให้หลุยส์มีความรู้ที่ดี การศึกษาขั้นแรกของปาสเตอร์เริ่มต้นที่โรงเรียนประจำจังหวัดอาร์บัวส์
ซึ่งวิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่เขาเรียนได้ดีที่สุด นอกจากนี้เขามีความสามารถในการวาดรูปอีกด้วย โดยเฉพาะภาพเหมือน
(Portrait) เขามีความชำนาญมากที่สุดรูปเหมือนที่ปาสเตอร์ได้วาด เช่น ภาพบิดา มารดา และเพื่อน ๆ ของเขา เป็นต้น ซึ่งปัจจุบัน
ภาพเหล่านี้ได้ถูกแขวนประดับไว้ในสถาบันปาสเตอร์ ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส (The Pasteur Institute in Paris)
ด้วยความที่ปาสเตอร์เป็นนักเรียนที่เรียนดี มีความสามารถ และความประพฤติเรียบร้อย จึงได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์ใหญ่
ของวิทยาลัยอาร์บัวส์ให้ไปเรียนที่อีโคล นอร์เมลซูพีเรีย (Ecole Normale Superiere) ซึ่งเป็นสถาบันฝึกหัดครูชั้นสูงที่มี
ชื่อเสียงมากที่สุดในกรุงปารีสด้วยอาจารย์ใหญ่ต้องการให้เขากลับมาเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยอาร์บัวส์นั่นเอง แต่ปาสเตอร์เรียนอยู่ที่นี่
ได้ไม่นาน บิดาก็ต้องมารับกลับบ้าน ด้วยเขาป่วยเป็นโรคคิดถึงบ้าน (Home Sick) อย่างรุนแรง ซึ่งอาจจะถึงขั้นเป็นโรคประสาท
ได้ในเวลาต่อมา

         ต่อมาเขาได้เข้าเรียนต่อวิชาอักษรศาสตร์ ที่รอยับลคอลเลจ (Royal College) ในเบซานกอน (Besancon) หลังจาก
จบการศึกษาแล้ว ปาสเตอร์ได้ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ต่อจากนรั้นปาสเตอร์ได้เดินทางไปศึกษาต่อที่สถาบันฝึกหัดครูชั้นสูง
Ecole Normale Superiere อย่างที่เขาตั้งใจในครั้งแรก ในระหว่างที่เขาศึกษาอยู่ที่นี่เขามีโอกาสได้เรียนวิชาเคมีกับนักเคมี
ผู้มีชื่อเสียง 2 ท่าน คือ เจ.บี. ดีมาส์ (J.B. Dumas) และ เอ.เจ. บาลาร์ด ซึ่งสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ (Sorbonne
University) เนื่องจากมีบางวิชาที่ต้องไปเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ในช่วงปีสุดท้ายของการศึกษาที่ อีโคล นอร์เมล ซูพเรีย
เขาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับผลึก (Crystallography) ในปี ค.ศ. 1852 เมื่อปาสเตอร์จบการศึกษาแล้ว เขาได้ทำการทดลอง
เกี่ยวกับกรดทาร์ทาริก หรือกรดปูนที่ใช้ทำน้ำส้ม (Tartaric acid) จากผลงานการทดลองชิ้นนี้ในปี ค.ศ. 1849 เขาได้รับเชิญ
จากมหาวิทยาลัยสตราส์เบิร์ก (Strasburg University) ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชาเคมี

         ต่อจากนั้นในปี ค.ศ. 1854 ปาสเตอร์ได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยแห่งเมืองลิลล์ (University of Lille) ให้ดำรงตำแหน่ง
ศาสตราจารย์วิชาเคมีและคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ด้วยความที่เมืองลิลล์เป็นเมืองอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีทั้งเหล้า
เบียร์ และไวน์ และครั้งหนึ่งปาสเตอร์ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมโรงงานทำแอลกอฮอล์จากน้ำตาลหัวผักกาดแห่งหนึ่ง ทำให้เขารู้ปัญหา
ของโรงงานที่ว่าเกิดการเน่าเสียของแอลกอฮอล์ และยังไม่สามารถหาสาเหตุได้ ดังนั้นปาสเตอร์จึงนำตัวอย่างแอลกอฮอล์ไปตรวจสอบ
ในขณะนั้นมีนักวิทยาศาสต์ท่านหนึ่งสามารถประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ได้สำเร็จ เขาจึงนำกล้องจุลทรรศน์มาใช้ในการตรวจสอบ
ครั้งนี้ด้วย โดยในส่วนแรกเป็นแอลกอฮอล์ที่ดีเมื่องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูปรากฏว่า มีแบคทีเรียชนิดหนึ่งลำตัวกลมมีชื่อว่า ยีสต์
(Yeast) ซึ่งมีฤทธิ์เปลี่ยนน้ำตาลให้กลายเป็นแอลกอฮอล์และได้พบแบคทีเรียอีกชนิดหนึ่งมีรูปร่างเป็นท่อน ๆ แบคทีเรียชนิดนี้มี
ชื่อว่า บาซิลลัส (Bacillus) ซึ่งมีฤทธิ์สามารถเปลี่ยนน้ำตาลแดงให้เป็นกรดแลคติกได้ หรือเป็นตัวการที่ทำให้แอลกอฮอล์มีคุณภาพ
ต่ำ จากการค้นพบครั้งนี้ทำให้ปาสเตอร์เริ่มทำการทดลองเกี่ยวกับของหมักดอง ในที่สุดปาสเตอร์ได้พบว่า การหมักดองทำให้เกิด
กรดขึ้น 2 ชนิด ได้แก่ กรดซักซินิก (Succinic acid) และกลีเซอร์ไรน์ (Glycerin) การค้บพบครั้งนี้มีประโยชน์อย่างมากใน
วงการอุตสาหกรรมและเป็นการบุกเบิกการค้นคว้าหาสารเคมีชนิดต่าง ๆ มากขึ้น ปาสเตอร์ได้ตั้งทฤษฎีการหมักดอง
(Fermentation Theory) กล่าวว่า การหมักดองเป็นผลมาจากจุลินทรีย์

         เมื่อเขาค้นพบว่าจุลินทรีย์ทำให้เกิดผลเสียมากมาย ปาสเตอร์จึงทำการค้นคว้าเกี่ยวกับจุลินทรีย์ต่อไป และพบว่า จุลินทรีย์
ที่มีอยู่ทั่วไปในอากาศทำให้เกิดความเจ็บป่วย และอาหารรวมถึงนมเน่าเสียได้ง่ายมาก เพราะฉะนั้นวิธีการเก็บรักษาของให้อยู่ได้
นาน ๆ ก็คือ ต้องฆ่าจุลินทรีย์เหล่านี้ให้หมดไป ปาสเตอร์ได้ทดลองฆ่าเชื่อจุลินทรีย์ โดยการนำนมมาต้มในความร้อน 145 องศา
ฟาเรนไฮต์ ทำให้เย็นลงโดยเร็วที่สุด ภายใน ? ชั่วโมง เพื่อให้จุลินทรีย์ตายหมด ก่อนนำไปบรรจุใส่ขวด จากนั้นใช้สำลีอุดปากขวด
ให้แน่นป้องกันไม่ใช้เชื้อจุลินทรีย์เข้าได้ ผลปรากฎว่านมสดอยู่ได้นานกว่าปกติ โดยที่ไม่เน่าเสีย จากนั้นปาสเตอร์ได้นำวิธีการดังกล่าว
ไปใช้กับเครื่องดื่มชนิดอื่น เช่น เหล้า เบียร์ น้ำกลั่น และไวน์ เป็นต้น วิธีการนี้เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ พาสเจอร์ไรเซชัน
(Pasteurization) ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบันนี้ จากการค้นคว้าทดลองครั้งนี้ปาสเตอร์
ยังพบวิธีการทำน้ำส้มสายชูโดยใช้จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดเหล้าองุ่นมาเพาะ แล้วเติมลงไปในเหล่าองุ่นที่ผ่านวิธีพาสเจอร์ไรต์แล้ว
ด้วยวิธีการนี้จะได้น้ำส้มสายชูที่มีคุณภาพดี

         การค้นคว้าเรื่องจุลินทรีย์ของปาสเตอร์ไม่ได้หยุดแต่เพียงเท่านี้ ในปี ค.ศ. 1865 เขาพบถึงสาเหตุของเซลล์ที่ตายแล้วเน่าเปื่อย
ก็เป็นผลมาจากเชื้อจุลินทรีย์เช่นเดียวกัน ดังนั้นเขาจึงทำการทดลองต่อไป ด้วยปาสเตอร์กลัวว่าเมื่อฝังศพทั่งของสัตว์ และมนุษย์ลง
ในดินแล้ว ทำให้เชื้อจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นลงไปอยู่ในดินได้และอาจจะปนเปื้อนไปกับน้ำบาดาล เมื่อคนนำน้ำบาดาลไปดื่มโดยที่ไม่ต้องต้ม
ฆ่าเชื่อก่อน อาจจะทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้ เมื่อการค้นคว้าของปาสเตอร์จบสิ้นลงผลปรากฏว่าเป็นดังเช่นที่ปาสเตอร์กล่าวไว ้คือ
มีจุลินทรีย์บางชนิดสามารถอยู่ในดินได้จริง เช่น เชื้อบาดทะยัก และแอนแทรกซ์ เป็นต้น

         ต่อมาเขาได้ทดลองเกี่ยวกับโรคระบาดที่ร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับตัวไหม ซึ่งทำความเสียหายอย่างหนักให้กับโรงงานอุตสาหกรรม
ผ้าไหม เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมได้มาขอความช่วยเหลือจากปาสเตอร์ เขาได้ทำการค้นคว้าเรื่องนี้อยู่นางถึง 5 ปี จึงพบว่าโรคนี้เกิดขึ้น
จากเชื้อจุลินทรีย์ชื่อว่า โนสิมา บอมบายซิล (Nosema Bombysis) ซึ่งตัวหนอนกินเข้าไป ดังนั้นปาสเตอร์จึงอธิบายวิธีการป้องกัน
โรคนี้ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมฟังอย่างละเอียด ซึ่งสามารถป้องกันโรคนี้ได้เป็นอย่างดี จากผลงานทาวิทยาศาสตร์วิชาเคมี
ที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ (Sorbonne University) และในปีเดียวกันนี้เขาได้เผยแพร่ผลงานการค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องการ หมักดองออกมาอีกเล่มหนึ่งจากความสามารถของปาสเตอร์ ในปี ค.ศ. 1873 เขาได้เชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคม
อะเคดามี ออฟ เมดิซีน (Academy of Medicine)

         ในปี ค.ศ. 1887 ปาสเตอร์ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับโรคระบาดในสัตว์ โดยเริ่มจากโรคที่ร้ายแรงที่สุด คือ โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) ปาสเตอร์ใช้ปัสสาวะของสัตว์ที่ป่ายเป็นโรคแอนแทรกซ์มาเพาะเชื้อให้อ่อนกำลังลง แล้วไปทำวัคซีน การที่เขานำ
ปัสสาวะของสัตว์มาทำวัคซีนทำให้คนทั่วไปไม่เชื่อถือในวัคซีนของเขา ปาสเตอร์ต้องการให้สาธารณชนประจักษ์แก่สายตาจึงทำ
การทดลอง ปาสเตอร์ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมเกษตร (Agriculture Society) มอบแกะในการทดสอบวัคซีนถึง 50 ตัว
ปาสเตอร์แบ่งแกะออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 25 ตัว กลุ่มหนึ่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์ อีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้ฉีด จากนั้นจึงฉีด
เชื้อโรคแอนแทรกซ์ให้กับแกะทั้งหมด ผลปรากฏว่าแกะกลุ่มที่ฉีดวัคซีนไม่ป่วยเป็นโรคแอนแทรกซ์เลย แต่แก่กลุ่มที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน
ป่วยและเสียชีวิตหมดทุกตัว

          จากผลงานการค้นคว้าชิ้นนี้ ทางรัฐบาลประเทศฝรั่งเศสได้ขอร้องและมอบเงินสนับสนุนให้กับปาสเตอร์ในการค้นคว้าหา
วัคซีนป้องกันโรคอหิวาตกโรคในไก่ ปาสเตอร์ทำการทดลองค้นคว้าและสามารถผลิตวัคซีนป้องกันโรคอหิวาตกโรคในไก่ได้สำเร็จ
โดยเขาผลิตวัคซีนชนิดนี้ได้จากซุปกระดูกไก่ ปาสเตอร์ได้นำวัคซีนชนิดนี้ได้จากซุปกระดูกไก่ ปาสเตอร์ได้นำวัคซีนฉีดให้กับไก่
ปรากฏว่าไก่ที่ป่วยมีอาการดีขึ้นและหายไปในที่สุด

          การค้นพบวัคซีนที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขามากที่สุด คือ วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าน แม้ว่าจะไม่ใช่โรคระบาดที่ร้ายแรงแต่ก็
สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้คนได้มากเพราะเมื่อผู้ใดที่ถูกสุนัขบ้ากัดแล้วต้องเสียชีวิตทุกรายไป สัตว์ที่ป่วยด้วยโรคนี้ก็ต้องตายโดย
ไม่มีวิธีรักษาหรือป้องกัน จากการค้นคว้าปาสเตอร์พบว่าเชื้อสุนัขบ้าอยู่ในน้ำลาย ดังนั้นเมื่อถูกน้ำลายของสุนัขที่มีเชื้อโรคอยู่ไม่ว่าจะ
ทางใด เช่น ถูกเลียบริเวณที่เป็นแผล หรือถูกกัด เป็นต้น เชื้อโรคในน้ำลายก็จะซึมเาไปทางแผลสู่ร่างกายได้ ปาสเตอร์ได้นำเชื้อ
มาเพาะวัคซีน และนำไปทดลองกับสัตว์ ปรากฏว่าได้ผลเป็นอย่างดี แต่ปาสเตอร์ไม่กล้านำมาทดลองกับคน จนกระทั่งวันหนึ่งโจเวฟ
เมสเตร์ เด็กชายวัย 9 ปี ถูกสุนัขบ้ากัด ถึงอย่างไรก็ต้องเสียชีวิต ดังนั้นพ่อแม่ของเด็กจึงได้นำบุตรชายมาให้ปาสเตอร์รักษาซึ่งเป็น
โอกาสดีที่ปาสเตอร์จะได้ทดลองยา ปรากฏว่าเด็กน้อยไม่ป่วยเป็นโรคสุนัขบ้าน การค้นพบครั้งนี้ทำให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากขึ้น

         ในปี ค.ศ. 1888 ปาสเตอร์ได้ก่อตั้งสถาบันปาสเตอร์ (Pasteur Institute) ขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จากนั้นสถาบัน
ปาสเตอร์ก็ได้ก่อตั้งขึ้นอีกหลายแห่ง ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยด้วย โดยในประเทศไทยใช้ชื่อว่า สถานเสาวภา
สถาบันปาสเตอร์ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ทดลองค้นคว้าเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคติดต่อชนิดต่าง ๆ เช่นโรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้น
ปาสเตอร์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1895