วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ตอนนี้การบ้านเยอะจัง
เหนื่อยจังช่วยแม่ทำงานเพราะพ่อไปเที่ยวต่างจังหวัดตั้งหลายวัน

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันสำคัญของฝรั่งเศส

Les fêtes françaises
Le Nouvel An: (31 décembre-le 1er janvier)A minuit du 31 décembre, on réveillonne, on  s'embrasse et on prononce les voeux traditionnels "Bonne et heureuse année". On donne des étrennes aux enfants.
วันขึ้นปี้ใหม่(31 ธันวาคม - 1 มกราคม)
เที่ยวคืนวันที่ 31 ธันวาคม มีการฉลอง การกอดและประเพณีการอธิฐานว่า"Bonne et heureuse année".และการใหเงินแก่เด็กๆ
L'Epiphanie, la fête des rois: (le 6 janvier)
On mange une galette des rois. Elle caxhe "la fève" dans sa pâte. Celui qui trouve la fève devient roi ou reine de la fête.

L'Epiphanie เป็นวันกษัตริย์(6 มกราคม)
ประเพณีนี้มีการทานขนม une galette หาถั่วอยู่ในแป้งสาลี คนที่หาถั่วเจอจะกลายเป็นกษัตริย์หรือราชินี ถือเป็นประเพณีการเล่นแบบหนึ่งของเด็ก
La Chandeleur: (le 2 février)
La fête de la Vierge quelues semaines après la naissance de l'Enfant Jésus. Aujourd'hui, le nom est resté mais la tradition a changé. A la maison, on fait des crêpes qu'on doit faire sauter en l'air d'un habile "coup de poêle"

วัน la Vierge วันของพระแม่หลังจากสัปดาห์วันเกิดของพระเยซู วันนี้ยังคงมีชื่ออยู่แต่ประเพณีมีการเปลี่ยนแปลง มีการทำเครป โดยต้องโยนกลางอากาศอย่างคล่องแคล่ว ว่า "coup de poêle"
Mardi gras: (40 jours avant Pâques)On se déguise. C'est l'époque des défilés de Carnaval. C'est aussi la période des vacances d'hiver.
 Mardi gras(40วันก่อนวัน Pâques)
มีการแต่งตัวแฟตาซีเป็นช่องเวลาการเดินขบวน Carnava แล้วเป็นช่วงวันหยุดฤดูหนาวเช่นกันl
La Saint-Valentin: (le 14 frévier)
Le fête des amoureux, on s'offre des fleurs, on s'envoie des cartes "Vive St Valentin"

La Saint-Valentin (14 กุมภาพันธ์)
วันแห่งความรัก มีการให้ดอกไม้ ส่งการด์  Valentin
Pâques: (entre le 22 mars et le 25 avril)
Pour les chrétiens, la résurrection du Christ, on offre des oeufs en chocolat ou en sucre aux enfants. Les cloches des églises sonnent partout.

Pâques (ระหว่างวันที่ 22 มีนาคมและ 25 เมษายน)
เพื่อคริตส์ศาสนา เป็นที่คืนชีพของพระเยซูคริตส์ มีการให้ไข่ช๊อกโกแลตหรือน้ำตาลแก่เด็กๆ แล้วมีการสั่นระฆังที่โบสถ์
Le Premier Mai: (le 1er mai)
C'est la fête du travail. On offre aux amis une branche ou un brin de muguet qui est un symbol du bonheur.

วันแรงงาน(วันที่ 1 พฤษภาคม)
มีการให้เพื่อนให้ดอก muget แก่ผู้ใช้แรงงานเป็นสัญลักษณ์แห่งความสุข
วันแม่ที่ผ่านมาได้ทำอะไรให้ได้หลายอย่าง

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กลอนวันแม่



 
นิยามคำว่า “แม่”

สตรีใด ไหนเล่า เท่าเธอนี้
เป็นผู้ที่ ลูกทุกคน บ่นรู้จัก
เป็นผู้ที่ มีพระคุณ การุณนัก
เป็นผู้ที่ สร้างความรัก สอนความดี
เป็นผู้ที่ คอยสั่งสอน เอาใจใส่
คอยห่วงใย เราทุกคน จนวันนี้
เปรียบแสงทอง สว่างล้ำ นำชีวี
เธอคนนี้ คือ ”แม่” ของเราเอง


 
ค่าน้ำนม

วันเกิดเราเป็นดั่งวันสิ้นลมแม่
เจ็บปวดแท้ดั่งน้ำตาพาจะไหล
สองมือออบโอบอุ้มแกว่งเปล
น้ำนมเลี้ยงอุ้มชูให้เติบใหญ่มา
แม่เปรียบดั่งยารักษายามป่วยไข้
แม่เปรียบดั่งต้นไม้ใหญ่ร่มใบหนา
แม่เปรียบดั่งดวงตะวันส่องแสงมา
แม่เปรียบดั่งผ้าห่มหนาอบอุ่นกาย
เปรียบดั่งพระในบ้านชี้แนะลูก
สถิตย์ถูกอยู่กลางใจไม่ไปไหน
กตัญญูตอนนี้ยังไม่สายไป
ก่อนแม่ไซร้หลับตาไปไม่ลืมเอย


 

ประวัติวันแม่และดอกมะลิ

ประวัติวันแม่

แม่...คำนี้มีอานุภาพยิ่งใหญ่ในใจลูกทุกคน จนยากที่จะเปรียบเทียบได้กับทุกสรรพสิ่งในโลก ดังคำขวัญที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานไว้ว่า “แม่เป็นพระอรหันต์ของลูก คนที่เที่ยววิ่งหาพระเพื่อกราบไหว้พระอรหันต์ อย่าลืมว่ามีพระอรหันต์อยู่กับตัวแล้ว ควรปฏิบัติต่อแม่อย่าให้บกพร่องได้” พระคุณของแม่อันประกอบไปด้วยความรักที่มีต่อลูกอย่างสุดหัวใจเช่นนี้ คงไม่ยากจนเกินไปนัก หากเอ่ยคำว่า “รัก” ให้แม่ได้ชื่นใจบ้าง เพราะคุณอาจโชคดีกว่าหลาย ๆ คนที่ได้เพียงแต่รำลึกถึงพระคุณแม่ผ่านภาพและเงาที่ตราตรึงไว้ในความทรงจำเท่านั้นว่า “ลูกรักแม่”


 ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการขึ้น และผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ 2 ปีพอดีในปี ค.ศ.1914 (พ.ศ. 2457) โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้านหรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว

 สำหรับในประเทศไทยนั้นมีการจัดงานวันแม่ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดงาน แต่เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไปโดยปริยาย หลังจากผ่านพ้นวิกฤติสงครามไปแล้ว หลายหน่วยงานได้พยายามรื้อฟื้นให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง แต่กำหนดวันแม่ที่ประชาชนนิยม และเป็นที่รับรองของรัฐบาล คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 กำหนดงานวันแม่ในวันนี้ยังดำเนินต่อมาอีกหลายปี ก็ต้องมาหยุดชะงักลงอีก ด้วยเหตุผลที่ว่าสภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุนซึ่งก็คือกระทรวงวัฒนธรรมที่ถูกยุบไปนั่นเอง
ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทยเห็นว่าควรมีการจัดงานวันแม่ต่อไป จึงได้รื้อฟื้นงานวันแม่ขึ้นมาอีก และได้กำหนดให้จัดงานวันแม่ คือวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่าควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนเสียที จึงได้กำหนดวันแม่ใหม่โดยให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และ กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั้งแต่นั้นมา
สำหรับในประเทศไทยนั้นมีการจัดงานวันแม่ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดงาน แต่เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไปโดยปริยาย หลังจากผ่านพ้นวิกฤติสงครามไปแล้ว หลายหน่วยงานได้พยายามรื้อฟื้นให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง แต่กำหนดวันแม่ที่ประชาชนนิยม และเป็นที่รับรองของรัฐบาล คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 กำหนดงานวันแม่ในวันนี้ยังดำเนินต่อมาอีกหลายปี ก็ต้องมาหยุดชะงักลงอีก ด้วยเหตุผลที่ว่าสภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุนซึ่งก็คือกระทรวงวัฒนธรรมที่ถูกยุบไปนั่นเอง
ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทยเห็นว่าควรมีการจัดงานวันแม่ต่อไป จึงได้รื้อฟื้นงานวันแม่ขึ้นมาอีก และได้กำหนดให้จัดงานวันแม่ คือวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่าควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนเสียที จึงได้กำหนดวันแม่ใหม่โดยให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และ กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั้งแต่นั้นมาเหตุผลที่ให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่องจาก ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย...

คาร์ลา บรูนี

คาร์ลา บรูนี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คาร์ลา บรูนี
Carla Bruni
คาร์ลา บรูนี

ดำรงตำแหน่ง
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 – ปัจจุบัน
สมัยก่อนหน้าเซซิลียา ซิกาเนร์-อัลเบนิซ
สมัยถัดไปปัจจุบัน

เกิด23 ธันวาคม พ.ศ. 2510 (43 ปี)
โตริโน ประเทศอิตาลี
คู่สมรสนิโกลาส์ ซาร์โกซี
คาร์ลา จิลแบร์ตา บรูนี เตเดสคี (Carla Gilberta Bruni Tedeschi) (23 ธันวาคม พ.ศ. 2510 — ) นักประพันธ์เพลง นักร้อง นางแบบชาวอิตาลีและเป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งคนปัจจุบันของประเทศฝรั่งเศส

เนื้อหา

[ซ่อน]

 ประวัติ

คาร์ลา บรูนีเกิดเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ที่เมืองโตริโน ประเทศอิตาลี เป็นทายาทของบริษัทอุตสาหกรรมยาง CEAT ซึ่งก่อตั้งโดยปู่ของเธอ วีร์จีนิโอ บรูนี เตเดสคี และถูกขายต่อโดยอัลแบร์โต พ่อเลี้ยงของเธอ ให้แก่บริษัทปิเรลลี่ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 [1] ครอบครัวของเธอย้ายไปอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นที่เชื่อกันว่า พวกเขาหลบหนีการลักพาตัวของกองทหารแดง (Brigate Rosse - กลุ่มก่อการร้ายสายมาร์กซิสต์-เลนินนิสต์ในประเทศอิตาลีช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970) คาร์ลา บรูนีได้เติบโตขึ้นในประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่อายุเพียง 5 ขวบ และเข้าศึกษาที่โรงเรียนประจำที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และกลับมายังกรุงปารีสเพื่อเรียนศิลปะและสถาปัตยกรรม แต่ทว่าเมื่ออายุได้เพียง 19 ปีก็เลิกศึกษาต่อและมาเป็นนางแบบอาชีพ
ครอบครัว
คาร์ลา บรูนีเป็นลูกสาวของนักเปียโนคลาสสิค มาริสา โบรีนีและนักประพันธ์เพลงคลาสสิค อัลแบร์โต บรูนี เตเดสคี เธอมีพี่สาวนามว่า วาเลเรีย บรูนี เตเดสคี (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507) ซึ่งเป็นนักแสดงและผู้กำกับภาพยนตร์ และมีพี่ชายนามว่า วีร์จีนิโอ บรูนี-เตเดสคี (พ.ศ. 2502 - 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2549) ในปี พ.ศ. 2550 ได้มีการเปิดเผยว่า พ่อที่แท้จริงของเธอคือ เมาริซิโอ เรมเมร์ต นักธุรกิจชาวอิตาลี ซึ่งปัจจุบันอาศัยอยู่ที่ประเทศบราซิล [1][2]

 อาชีพ

 เดินแบบ

คาร์ลา บรูนี เมื่อเป็นนางแบบ
บรูนีได้เซ็นสัญญากับซิตี้ โมเดลส์ เมื่ออายุเพียง 19 ปี หลังจากนั้นปอล มาร์ซีอาโน ประธานบริษัทเกสส์ (GUESS? Inc.) ได้เลือกให้เธอได้เดินแบบคู่กับเอสเตลล์ เลอเฟบูร์ นางแบบชื่อดังเพื่อที่จะโฆษณากางเกงยีนส์ของเกสส์ หลังจากนั้นบรูนีก็ได้ทำงานกับเหล่าผู้ออกแบบและบริษัทแฟชั่นอีกมากมายเช่น คริสเตียน ดีออร์, ปาโก ราบานเน, โซเนีย รีกีเอล, คริสเตียง ลาครัวซ์, คาร์ล ลาเกอร์เฟลด์, จอห์น กาลิอาโน, อีฟส์ แซงต์-โลรองต์, ชาแนล, เวอร์ซาเช่ [3] ฯลฯ ในคริสต์ทศวรรษ 1990 บรูนีกลายเป็นนางแบบที่มีรายได้สูงที่สุด 20 อันดับ โดยรับเงินกว่า 7.5 ล้านดอลลาร์ต่อปี ในขณะที่ทำอาชีพเดินแบบนั้น บรูนีได้คบหากับอีริค แคลปตัน, มิค แจ็คเกอร์และโดนัลด์ ทรัมพ์ [4]

 ดนตรี

ในปี พ.ศ. 2540 บรูนีได้ก้าวออกจากวงการแฟชั่นและได้ทุ่มเทเวลาของเธอให้กับดนตรี เธอได้ส่งเนื้อร้องไปให้ชูเลียง แกลร์กในปี พ.ศ. 2542 ซึ่งได้ลงในอัลบั้มซิ เชเตส์ เอลล์ (Si j'étais elle) ซึ่งมี 7 เพลงในปี พ.ศ. 2543
ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 เธอได้ออกอัลบั้มออกมาชุดแรกคือ แกลเกิง มา ดิต์ (Quelqu'un m'a dit) ซึ่งผลิตโดยคู่รักเก่าของเธอ หลุยส์ แบร์ตีญัค ซึ่งออกจำหน่ายในทวีปยุโรปและประสบความสำเร็จในกลุ่มประเทศที่พูดภาษาฝรั่งเศส (Francophonie) [5] มีเพลงจากอัลบั้มของเธอ 3 เพลงได้ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์เรื่อง Conversations with Other Women ของฮานส์ คาโนซา และเพลงเลอ ปลูส์ โบ ดู การ์ตีเย่ร์ (Le plus beau du quartier) ได้ใช้ในโฆษณาคริสต์มาส 2006 ของเอชแอนด์เอ็ม (H&M)
ปี พ.ศ. 2547 เธอได้เป็นนักร้องรับเชิญในการกลับมาในอัลบั้มของหลุยส์ แบร์ตีญัค ในเพลงเลส์ โฟรเลิส (Les frôleuses) ซึ่งทั้งคู่ได้ร้องเป็นเพลงคู่
ในปี พ.ศ. 2549 บรูนีได้อัดเพลงโธส ลิตเติ้ล ธิงส์ (Those Little Things) เป็นภาษาอังกฤษโดยแปลจากเพลงเซส์ เปอตีต์ เรียงส์ (Ces Petits Riens) ในอัลบั้มเมอซิเยอร์ แก็งส์บูร์ก รีวิซีเต็ด (Monsieur Gainsbourg Revisited) ของแซร์ช แก็งส์บูร์ก บรูนียังได้ร่วมในพิธีเปิดโอลิมปิคฤดูหนาว 2006 ในการเดินพาเหรดโดยทำความเคารพแก่ธงชาติอิตาลี
อัลบั้มชุดที่สองของเธอคลอดออกมากในเดือนมกราคม พ.ศ. 2550 ชื่อว่า โน โพรมิสเซส (No Promises) โดยมีกลอนจากยีตส์, เอมิลี่ ดิคคินสัน, โดโรธี ปาร์คเกอร์, โอเดน, วอลเตอร์ เดอ ลา มาร์และคริสเตียน่า โรเซตติ
อัลบั้มที่สามของเธอจะวางจำหน่ายในฤดูร้อนปี พ.ศ. 2551

ชีวิตส่วนตัว

Cquote1.svg
I'm monogamous from time to time, but I prefer polygamy and polyandry[6]
Cquote2.svg

ความสัมพันธ์

เป็นที่กล่าวกันว่า คาร์ลา บรูนี เคยมีความสัมพันธ์กับหลุยส์ แบร์ตีญัค, มิค แจ็คเกอร์ (ภรรยาของแจ็คเกอร์สืบทราบความสัมพันธ์ของทั้งสองจึงเป็นสาเหตุหนึ่งของการหย่า), อีริค แคลปตัน, โดนัลด์ ทรัมพ์, โลโอส การักซ์, ชาร์ลส์ แบร์แล็ง, แวงซองต์ เปอเรซ [7] และอดีตนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส โลรองต์ ฟาบิอูส์[8][9]
เธอกล่าวว่าเธอเบื่อกับ "ชีวิตสมรส" และ "การรักชั่วชีวิต" แต่ความปรารถนาอย่างเร่าร้อน - สองถึงสามอาทิตย์ [9]

 ครอบครัวอองโตวอง

เมื่อเธอได้อาศัยอยู่กับฌอง-ปอล อองโตวอง บรูนีได้ตกหลุมรักและมีความสัมพันธ์กับลูกชายของเขา ซึ่งเป็นนักปรัชญา ชื่อว่าราฟาเอล อองโตวอง (เพลงที่ 2 ราฟาเอล ในอัลบั้มแกลเกิง มา ดิต์ ของบรูนี มาจากชื่อของเขา) ซึ่งในขณะนั้นเขาได้แต่งงานกับนักเขียนชูสตีน เลวี ลูกสาวของนักปรัชญา แบร์นาร์ด-อองรี เลวี [10]
ความสัมพันธ์ของทั้งสองได้จบลงหลังจากเลิกกัน ซึ่งได้แนวความคิดมาจากหนังสือขายดีติดอันดับของชูสตีน เลวี "เรียง เดอ กราฟ" (Rien de grave - ไม่มีอะไรซีเรียส) พิมพ์ในปี พ.ศ. 2547 ซึ่งในหนังสือนั้นเลวีได้ระบายภาพแสบๆ ของ "พอลล่า" ซึ่งเป็นผู้หญิงที่แย่งสามีตัวเองในละครไป โดยเป็น "ตั๊กแตนตำข้าว" ด้วยรอยยิ้มที่โหดร้าย [11]
บรูนีและราฟาเอล อองโตวองมีลูกชายด้วยกันหนึ่งคนคือ โอเรเลียง (พ.ศ. 2544 — ) ตั้งแต่นั้นมาทั้งคู่ได้แยกทางกัน

 นิโกลาส์ ซาร์โกซี

ปลายปี พ.ศ. 2550 ได้มีรายงานว่าคาร์ลา บรูนีกำลังมีความสัมพันธ์กับประธานาธิบดีฝรั่งเศส นิโกลาส์ ซาร์โกซี [12] หลังจากที่ช่างถ่ายภาพถ่ายภาพทั้งคู่กำลังเข้าชมดิสนีย์แลนด์ รีสอร์ท ปารีส และพักผ่อนที่ลูซอร์ ประเทศอียิปต์และเปตรา ประเทศจอร์แดน ระหว่างเทศกาลคริสต์มาส [13]
ในระหว่างการให้สัมภาษณ์แก่นักข่าวและหนังสือพิมพ์ที่เอลิเซ่ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2551 นั้น ประธานาธิบดีซาร์โกซีได้ยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองและพูดเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการแต่งงานของทั้งสอง [14] ซึ่งทั้งสองได้แต่งงานในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ที่พระราชวังเอลิเซ่ในกรุงปารีส การแต่งงานครั้งนี้เป็นการแต่งงานครั้งแรกของคาร์ลา บรูนีและเป็นครั้งที่ 3 ของซาร์โกซี

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ 1.0 1.1 Bruni-Tedeschi, de la saga à la telenovela - Libération, 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 (ฝรั่งเศส)
  2. ^ Sharon Churcher & Harold Emert, Who's the daddy? Businessman claims to be real father of President Sarkozy's supermodel sweetheart Carla Bruni, Daily Mail, 6 มกราคม พ.ศ. 2550
  3. ^ Carla Bruni, Fashion Insider, accessed 2008-01-07
  4. ^ Brendan Bernhard (February 2 2007). "The Supermodel School of Poetry". New York Sun. http://www.nysun.com/article/47929. 
  5. ^ biography of Bruni, RFI, accessed 2008-01-07
  6. ^ Time Magazine, vol. 170, n. 26/27, 31 December 2007 - 7 January 2008. See also.
  7. ^ ON NE PARLE QUE DE ÇA | CARLA BRUNI - Gala (ฝรั่งเศส)
  8. ^ Time Magazine, vol. 170, n. 26/27, 31 December 2007 - 7 January 2008. See also: Faces to follow in 2008: Presidential Arm Candy - Carla Bruni
  9. ^ 9.0 9.1 "Profile: Carla Bruni", BBC News, 2008-01-15
  10. ^ When Carla Bruni broke hearts - Gala, Eliane Georges , August 17, 2005 (ฝรั่งเศส)
  11. ^ John Follain, Nicolas Sarkozy and Carla Bruni: Coup de foudre, Times Online, 23 December 2007
  12. ^ French president, supermodel-singer linked USA Today, 17 Dec. 2007
  13. ^ Paparazzi throng for Sarkozy trip, BBC News, 25 December 2007
  14. ^ Sarkozy: avec Carla, c'est du sérieuxLe Figaro January 9, 2008 (ฝรั่งเศส)

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

สมัยก่อนหน้าคาร์ลา บรูนีสมัยถัดไป
เซซิลียา ซิกาเนร์-อัลเบนิซ2leftarrow.pngสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส
(พ.ศ. 2551 —)
2rightarrow.pngยังคงดำรงตำแหน่ง

ใก้ลถึงวันแม่กันแล้วทำไรให้แม่กัน